บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องกำจัดยุงแมลง เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 น้ำยาฆ่าเชื้อโรค อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นกำจัดยุงแมลงและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องกำจัดยุงแมลง เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 นำยาฆ่าเชื้อโรค อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นกำจัดยุงแมลงและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 อันดับ 1 ในประเทศไทย

ทำไมโควิด-19 ถึงแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne)

  • 7 พฤษภาคม 2564 เว็บไซต์ของ CDC ได้เผยแพร่ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Brief) เรื่องการแพร่กระจายของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคโควิด-19 โดยระบุว่า ช่องทางการแพร่เชื้อในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ช่องทาง คือ การหายใจเอาไวรัสเข้าไป การสัมผัสเยื่อบุตา / จมูก / ปากโดยตรง และการสัมผัสเยื่อบุตา / จมูก / ปาก ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส 
  • สารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Respiratory Fluids) ถูกปล่อยออกมาระหว่างหายใจออก เช่น การหายใจตามปกติ การพูด การร้องเพลง การออกกำลังกาย การไอหรือจาม เป็นละอองขนาดเล็ก-ใหญ่แตกต่างกัน และละอองเหล่านี้เป็นตัวพาไวรัสไปติดเชื้อให้กับผู้อื่น แต่จะสามารถแพร่ไปได้ไกลเท่าไรขึ้นกับขนาดของละอองและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น
  • โดยสรุป CDC ยืนยันว่าโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ไกลกว่า 2 เมตร แต่ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อแบบนี้คือ กิจกรรมที่เพิ่มละอองสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ + สถานที่ปิด + ระยะเวลานานเกิน 15 นาที เช่น ฟิตเนส สถานบันเทิง และอนาคตน่าจะมีการพูดถึงร้านอาหารมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน CDC ก็ยืนยันว่ามาตรการเดิมนั้นเพียงพอ
ทำไมโควิด-19 ถึงแพร่กระจายทางอากาศ Airborne

ถ้ามีการตีพิมพ์ผลการสอบสวนโรคในคลัสเตอร์ ‘สนามมวย’ เมื่อปีก่อน ก็น่าจะเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่สนับสนุนข้อสรุปล่าสุดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐฯ (CDC) ว่าโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ไกลกว่า 2 เมตร หรือที่เรียกว่า ‘การแพร่กระจายทางอากาศ’ (Airborne) เพราะตำแหน่งที่นั่งของผู้ติดเชื้อในสนามมวยค่อนข้างกระจัดกระจาย

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 เว็บไซต์ของ CDC ได้เผยแพร่ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Brief) เรื่องการแพร่กระจายของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคโควิด-19 โดยระบุว่า ช่องทางการแพร่เชื้อในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ช่องทาง คือ 

  • การหายใจเอาไวรัสเข้าไป
  • การสัมผัสเยื่อบุตา / จมูก / ปากโดยตรง
  • การสัมผัสเยื่อบุตา / จมูก / ปาก ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส 

อย่างไรก็ตาม CDC ได้ย้ำว่า “ถึงแม้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อจะเปลี่ยนไป แต่วิธีการป้องกันการติดเชื้อยังคงเหมือนเดิม มาตรการป้องกันโรคที่ CDC แนะนำทั้งหมดยังคงมีประสิทธิผลสำหรับทุกช่องทางการแพร่เชื้อดังกล่าว” โดยเหตุผลของการทำข้อสรุปนี้คือการปรับปรุงองค์ความรู้ให้ทันสมัยและจัดรูปแบบใหม่ให้กระชับมากขึ้น

ไวรัสติดต่อผ่าน ‘สารคัดหลั่งทางเดินหายใจ’

สารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Respiratory Fluids) ถูกปล่อยออกมาระหว่างหายใจออก เช่น การหายใจตามปกติ การพูด การร้องเพลง การออกกำลังกาย การไอหรือจาม เป็นละอองขนาดเล็ก-ใหญ่แตกต่างกัน และละอองเหล่านี้เป็นตัวพาไวรัสไปติดเชื้อให้กับผู้อื่น แต่จะสามารถแพร่ไปได้ไกลเท่าไรขึ้นกับขนาดของละอองและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น

  • ละอองขนาดใหญ่ที่สุด (Largest Droplets) จะตกสู่พื้นอย่างรวดเร็วในระดับวินาที-นาที
  • ละอองขนาดเล็กมาก (Very Fine Droplets) และถ้าแห้งแล้วจะกลายเป็นอนุภาคแอโรซอล (Aerosol Particles) ซึ่งมีขนาดเล็กพอที่จะลอยอยู่ในอากาศได้นานระดับนาที-ชั่วโมง

ตรงนี้เองที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ว่าผู้ติดเชื้อไม่ได้แพร่เชื้อผ่านละอองน้ำลายระหว่างการพูดคุย หรือละอองน้ำมูก เสมหะระหว่างการไอหรือจามเท่านั้น แต่ผู้ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อระหว่างการหายใจตามปกติ การหายใจแรงระหว่างการออกกำลังกาย หรือแม้แต่การตะโกนเชียร์ (มวย) ได้ โดยละอองเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ช่องทางคือ

  • การหายใจเข้า (Inhalation) คือ การสูดหายใจเอาละอองขนาดเล็กมาก หรืออนุภาคแอโรซอลที่มีไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ความเสี่ยงของการติดเชื้อจะสูงมากในระยะ 1-2 เมตรจากผู้ติดเชื้อ เพราะเป็นบริเวณที่มีความเข้มข้นของละอองเหล่านี้สูง
  • การตกลงบนเยื่อบุผิว (Deposition) คือ การที่ละอองที่มีไวรัสตกลงบนเยื่อบุตา / จมูก / ปาก เช่น การถูกไอจามรด แล้วละอองน้ำลายกระเด็นเข้าตา ‘โดยตรง’ ความเสี่ยงในการติดเชื้อจะสูงมากในระยะ 1-2 เมตรตามความเข้มข้นของละอองเช่นกัน
  • การสัมผัสผ่านมือ (Touching) คือ การนำมือที่ปนเปื้อนหรือหยิบจับพื้นผิวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งขึ้นมาสัมผัสกับเยื่อบุตา / จมูก / ปาก เท่ากับเป็นการสัมผัส ‘ทางอ้อม’ แต่จากหลักฐานในปัจจุบัน การแพร่เชื้อแบบนี้ไม่ใช่ช่องหลักในการติดเชื้อโควิด-19

ความเสี่ยงในการติดเชื้อขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัส

เมื่อละอองสารคัดหลั่งกระจายออกมาจากผู้ติดเชื้อ ความเสี่ยงในการติดเชื้อจะลดลงเมื่อระยะห่างจากผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น (อยู่ห่างจากผู้ติดเชื้อ) และระยะเวลาหลังการกระจายนานขึ้น เพราะจะได้รับเชื้อในปริมาณน้อย หลักการสำคัญในการพิจารณาปริมาณเชื้อที่ได้รับจากการหายใจเข้า หรือการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อมี 2 ข้อ คือ

  • การลดความเข้มข้นของไวรัสในอากาศ ละอองที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากจะตกลงบนพื้นผิวตามแรงโน้มถ่วง ในขณะที่ละอองขนาดเล็กมากจะยังคงอยู่ในอากาศ ผสมและถูกเจือจางด้วยอากาศภายในบริเวณนั้น (นึกถึงภาพควันที่ลอยขึ้นมาจากหม้อชาบู หรือใครจะนึกถึงเตาหมูกระทะก็ไม่ว่ากัน)
  • ความสามารถในการอยู่รอดของไวรัสและการติดเชื้อจะลดลงตามระยะเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และแสงอัลตราไวโอเลต / แสงอาทิตย์

การแพร่กระจายของไวรัสที่ไกลกว่า 2 เมตร

ถึงแม้ว่าความเสี่ยงในระยะที่ไกลกว่า 2 เมตรจะ ‘ต่ำ’ กว่าการสัมผัสใกล้ชิด แต่ก็มีรายงานการระบาดในลักษณะนี้หลายเหตุการณ์ เช่น ร้านอาหาร (จีน), ห้างสรรพสินค้า (จีน), รถโดยสารประจำทาง (จีน), ฟิตเนส (เกาหลีใต้, ฮาวาย สหรัฐฯ), สนามสควอช (สโลวีเนีย), วงนักร้องประสานเสียง (วอชิงตัน สหรัฐฯ, ฝรั่งเศส), การร้องเพลงในโบสถ์ (ออสเตรเลีย)

เหตุการณ์เหล่านี้เป็นการติดเชื้อจากการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อภายในอาคารเป็นเวลานาน (มากกว่า 15 นาที หรือเป็นระดับชั่วโมงในบางกรณี) ทำให้มีความเข้มข้นของไวรัสมากพอที่จะแพร่กระจายไปยังผู้อื่นไกลกว่า 2 เมตร และในบางกรณีอาจเป็นการใช้พื้นที่ต่อจากผู้ติดเชื้อ โดย CDC สรุปว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อในลักษณะนี้คือ

  • สถานที่ปิด (Enclosed Spaces) อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หรือการจัดการอากาศไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีการสะสมของละอองขนาดเล็ก
  • กิจกรรมที่ปล่อยสารคัดหลั่งทางเดินหายใจออกมาเพิ่มขึ้น คือกิจกรรมทางกายหรือใช้เสียงดังขึ้น เช่น การออกกำลังกาย การตะโกน การร้องเพลง
  • การสัมผัสเป็นเวลานาน มักจะนานกว่า 15 นาที

การป้องกันการติดเชื้อไวรัส

สิ่งที่ CDC รู้ในปัจจุบันคือการสัมผัสทางอ้อม (การสัมผัสผ่านสิ่งของที่ปนเปื้อน) ไม่ใช่ช่องทางหลักในการแพร่เชื้อ ส่วนสิ่งที่ CDC ยังไม่รู้คือปริมาณของไวรัสที่น้อยที่สุดที่สามารถทำให้ติดเชื้อได้ (Infectious Dose) แต่หลักฐานในปัจจุบันพบว่ามาตรการป้องกันโรคที่ CDC เคยแนะนำยังคงใช้ได้ผล ได้แก่ 

  • การเว้นระยะห่างทางกายภาพ 
  • การสวมหน้ากากที่กระชับกับใบหน้า
  • การระบายอากาศที่เพียงพอ
  • การหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดภายในอาคาร

เพราะวิธีการเหล่านี้สามาร ‘ลด’ ความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อผ่านช่องทางการหายใจเข้า และการสัมผัสที่เยื่อบุตา / จมูก / ปากโดยตรง (คือ ‘ลด’ ปริมาณไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อปริมาณไวรัสลดลง ความเสี่ยงในการติดเชื้อก็จะลดลง) ส่วนช่องทางการสัมผัสทางอ้อมสามารถป้องกันด้วยการล้างมือบ่อยๆ และการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม

โดยสรุป CDC ยืนยันว่าโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ไกลกว่า 2 เมตร แต่ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อแบบนี้คือ กิจกรรมที่เพิ่มละอองสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ + สถานที่ปิด + ระยะเวลานานเกิน 15 นาที เช่น ฟิตเนส สถานบันเทิง และอนาคตน่าจะมีการพูดถึงร้านอาหารมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน CDC ก็ยืนยันว่ามาตรการเดิมนั้นเพียงพอ

ถ้าจะให้ผมแนะนำเพิ่มเติมคือ เรายังใช้ชีวิตนอกอาคารหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้เหมือนเดิม เน้นการเว้นระยะห่างจากผู้อื่น แต่เมื่อเข้าไปในสถานที่ปิดต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา เจ้าของสถานที่ปิดข้างต้น รวมถึงสถาบันการศึกษาควรติดพัดลมดูดอากาศ และติดตั้งอุปกรณ์กรองอากาศ เพื่อเพิ่มการระบายอากาศ และลดความเข้มข้นของปริมาณไวรัส

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

อ้างอิง:

ที่มา : thestandard.co

เกาะติดข่าวที่นี่
Website : www.enrichfog.net
Facebook : enrichfogger
Line : @enrichfogger
Youtube official : Enrichfogger Official Account
Tiktok : @enrichfog

Tags
CHEMGENE CHEMGENE HLD4H CHEMGENE HLD4L COVID19 ติดเชื้อโควิด-19 น้ำยากำจัดเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส น้ำยาฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค น้ำยาอเนกประสงค์ ผลิตภัณฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ลองโควิด เคมีกำจัดยุง เคมีกำจัดแมลง เครื่องULV เครื่องกําจัดเชื้อโรคในอากาศ เครื่องฆ่าเชื้อโรค เครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด19 เครื่องฉีดพ่นละอองฝอย เครื่องพ่น ULV เครื่องพ่น ULV ไฟฟ้า เครื่องพ่นกำจัดแมลง เครื่องพ่นกำจัดแมลงพาหะนำโรค เครื่องพ่นควัน เครื่องพ่นควันไล่ยุง เครื่องพ่นฆ่ายุง เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ ULV เครื่องพ่นยา เครื่องพ่นยาฆ่าเซื้อโรค เครื่องพ่นยุง เครื่องพ่นยุง ULV เครื่องพ่นยุงเกาหลี เครื่องพ่นยุงแบบพกพา เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องพ่นละอองฝอย ULV เครื่องพ่นละอองฝอยสะพายหลัง เครื่องพ่นสารเคมี ULV เครื่องพ่นหมอก ULV เครื่องพ่นหมอกควัน โควิด โควิด 19