ลองโควิด เกิดจากอะไร ทำไมถึงเป็น
ลองโควิด เกิดจากอะไร ทำไมถึงเป็น อาการ ลองโควิด เป็นอาการที่ผู้ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่มักจะเป็นต่อหลังสิ้นสุดการติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากอะไร อาการมีอะไรบ้าง วัคซีนสามารถช่วยได้หรือไม่ มีคำตอบมาให้แล้ว ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อหายจากอาการป่วยหรือหายจากการติดเชื้อแล้ว สิ่งที่ส่วนใหญ่มักกังวลต่อคือเรื่องของการเกิด “อาการลองโควิด” Long COVID ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่หายจากการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ โดย Long COVID คือ อาการทางร่างกายและทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่ หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจเป็นผลกระทบทางตรงจากร่องรอยของโรค หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อก็ได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อมูลว่า “อาการลองโควิด” มีความเป็นไปได้ที่หลากหลายมาก มีทั้งอาการที่คล้ายกับตอนเป็นโควิด-19 และอาการที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันเลย ซึ่งลักษณะอาการสามารถพบได้ 200 อาการ โดยพบได้ในทุกระบบของร่างกาย แบ่งอาการที่พบบ่อยได้ 3 กลุ่ม 1. อ่อนเพลีย 2. หายใจไม่เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมปกติได้ลดลง เหนื่อยง่ายขึ้น 3. ภาวะสมองเสื่อม เช่น ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่จะทำ ความจำลดลง มีปัญหาการนอนหลับ ความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมลดลง อาจพบอาการอื่น ๆ อีก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน […]
โอมิครอน ไม่น่ากลัว แต่น่ากลัวเมื่อเชื้อลงปอด
โอมิครอน ไม่น่ากลัว แต่น่ากลัวเมื่อเชื้อลงปอด แม้หลายคนจะมองว่า โควิดสายพันธุ์”โอมิครอน” ไม่ค่อยน่ากลัว แต่ไม่ใช่กับทุกคน เมื่อใดที่เชื้อลงปอด คนที่มีโรคประจำตัวและคนไม่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะมีปัญหามากกว่าคนกลุ่มอื่น ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด ณ วันที่ 11-15 เมษายน 2565 แต่ละวันมีจำนวนมากกว่า 100 คนอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวเลขเสียชีวิตสูงที่สุดในรอบเกือบ 4 เดือน โดยผู้ป่วยอาการหนักปอดอักเสบและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจมีปริมาณมากขึ้น โอมิครอน เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้ เคยถูกมองว่าไม่น่ากลัว เพราะไม่ส่งผลแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต แต่เมื่อตัวเลขผู้เสียชีวิตเริ่มเปลี่ยนจากศูนย์ ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงผลการศึกษาวิจัยที่ถูกเปิดเผยกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคำถามว่า“โอมิครอน”น่ากลัวน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ จริงเหรอ โอมิครอน เพิ่มจำนวนเร็วกว่าเดลต้า Dr. Michael Chan Chi-wai และทีมนักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้ทำการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด ระหว่างสายพันธุ์โอมิครอนกับเดลต้าที่ติดอันดับท็อปเรื่องความรุนแรง พบว่า โอมิครอนสามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่าเดลต้ามากถึง 70 เท่า เมื่อเชื้อไวรัสจับกับกลุ่มเซลล์หลอดลม ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้โอมิครอนแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อสู่บุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ปอดและยึดเกาะกับเนื้อเยื่อปอด การเพิ่มจำนวนไวรัสของโอมิครอนกลับช้าลง…และช้ากว่าเดลต้าถึง 10 เท่า เชื้อเติบโตช้า แต่ไม่ได้แปลว่า “โอมิครอน” ไม่อันตราย เมื่อพบไวรัสกลายพันธุ์ ต่างกังวลและโฟกัสถึงพลังการทำลายเซลล์ปอดของเชื้อสายพันธุ์นั้นๆ จนลืมไปว่าระดับความรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของการเพิ่มจำนวนไวรัสเพียงอย่างเดียว หนึ่งในกลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน […]
มาตรการป้องกัน โควิด-19 เข้มงวดตลาด-ร้านอาหาร อย่างต่อเนื่อง
มาตรการป้องกัน โควิด-19 เข้มงวดตลาด-ร้านอาหาร อย่างต่อเนื่อง “กรุงเทพมหานคร” เข้มงวดตลาด-ร้านอาหาร กำชับปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน “โควิด-19” อย่างต่อเนื่อง วันที่ 17 เม.ย. 2565 นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร เผยถึงการดำเนินมาตรการป้องกันโรค เพื่อควบคุมกำกับดูแลตลาดให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า กรุงเทพมหานครได้กำชับเน้นย้ำเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือของผู้ประกอบการ เจ้าของตลาด/ผู้ดูแลตลาด รวมถึงผู้ค้า/ผู้ช่วยค้าในตลาด ทั้งที่อยู่ในความดูแลของ กทม. และตลาดของเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการในตลาดให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ ที่ผ่านมา สำนักอนามัย ได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ค้าและแรงงาน ในตลาดพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านระบบ Video Conference (Zoom Meeting) มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานเขต 50 เขต และผู้ประกอบการตลาดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 488 แห่ง รวมทั้งการดูแลด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในตลาดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบด้วย ผู้ประกอบการตลาดต้องควบคุม กำกับ ดูแล ผู้ขาย แรงงาน และผู้ใช้บริการในตลาดให้ปฏิบัติตามมาตรการหลัก D-M-H-T-A […]
พบโควิด-19 ติดได้ 3 สายพันธุ์พร้อมกัน!
พบโควิด-19 ติดได้ 3 สายพันธุ์พร้อมกัน! เมื่อวันที่ 16 เม.ย. ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 ระบุว่า “ทีมวิจัยของเกาหลีใต้ได้นำเสนอผลการทดลองชิ้นหนึ่งออกมาน่าสนใจมากครับ” เป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาตอบคำถามเกี่ยวกับความสามารถการติดเข้าสู่เซลล์ปอดของมนุษย์ของไวรัส SARS-CoV-2 แต่ละสายพันธุ์ได้ชัดเจนขึ้น ทีมวิจัยทำการแยกเซลล์ถุงลมปอดของมนุษย์ออกมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการและเหนี่ยวนำให้เซลล์ดังกล่าวเจริญเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า Organoid ซึ่งเป็นสภาวะที่ใกล้เคียงกับอวัยวะจริงในร่างกาย มากกว่าการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ที่มักแยกมาจากเซลล์มะเร็งปอดและมีการเลี้ยงมาเป็นเวลานาน พอได้ระบบ Organoid ของปอดมนุษย์แล้ว ทีมวิจัยได้นำไวรัสที่แยกได้จากผู้ป่วยในเกาหลีใต้ที่มีการถอดรหัสพันธุกรรม 100% เรียบร้อยแล้ว 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เดิม (GR), Alpha, Delta และ Omicron จำนวนเท่าๆ กัน มาผสมกันและปล่อยให้ไวรัสทั้ง 4 สายพันธุ์ติดเข้าสู่ Organoid ปอดที่สร้างขึ้น ทีมวิจัยได้มีการใช้ระยะเวลาที่ให้ไวรัสไปบ่มกับเซลล์ที่เวลาต่างๆ กัน ที่น่าสนใจคือ เค้าใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที ก็สามารถพบว่า ไวรัสสามารถติดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว หลังจากบ่มไวรัสที่เตรียมไว้กับ Organoid […]
ป่วยโควิด-กักตัว ขอรับเงินทดแทนขาดรายได้อย่างไร?
ป่วยโควิด-กักตัว ขอรับเงินทดแทนขาดรายได้อย่างไร? สำนักงานประกันสังคมย้ำผู้ประกันตนไม่ต้องหวั่นใจ หากป่วยโควิดหรือตกเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงจ่ายชดเชยทุกกรณี รวมถึง “เงินทดแทนขาดรายได้” เช็กวิธีทำได้ที่นี่ ผู้ประกันตนหลายคนสอบถามกันมาก กรณียื่นขอรับ “เงินทดแทนการขาดรายได้” ล่าสุดสำนักงานประกันสังคมได้เปิดเผยข้อมูลว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 หากป่วยโควิด-19 หรือตกเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ต้องกักตัว ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีสิทธิยื่นขอรับเงินขาดรายได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เงื่อนไขขอเบิกเงินทดแทนขาดรายได้ 1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีหยุดรักษาตัวไม่เกิน 30 วัน : รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง กรณีหยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน : สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรัง (โรคมะเร็ง, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคเอดส์, […]
ผลศึกษาชี้ วัคซีนโควิด-19 สร้างภูมิจัดการ BA.2 ได้มากกว่า BA.1
ผลศึกษาชี้ วัคซีนโควิด-19 สร้างภูมิจัดการ BA.2 ได้มากกว่า BA.1 ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด19 สายพันธุ์ย่อย BA.2 พบวัคซีนสร้างภูมิลบล้างเชื้อไวรัสโอมิครอน BA.2 สูงกว่า BA.1 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวประเด็น “ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด19 สายพันธุ์ย่อย BA.2” ว่า การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันเป็นวิธีมาตรฐานโลก คือวิธี PRNT โดยการนำภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดของคนได้รับวัคซีนนำมาสู้กับไวรัสตัวเป็นๆ คือ BA.2 ที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาหลังการระบาด หลักการคือ เมื่อนำน้ำเลือดมาเจือจางลงไปเป็นเท่าๆ เช่น 1:10 1:40 1:160 ไล่จนถึงจุดที่ฆ่าตัวรัสได้ครึ่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า เป็น PRNT50 คือเมื่อฆ่าได้ครึ่งหนึ่งจึงเป็นจุดที่หยุด เพราะตัวเลขเจือจางถึงในระดับที่ต้องการ เช่น หากเจือจางถึง 100 เท่าฆ่าได้ครึ่งหนึ่งจะเป็นไตเตอร์ 100 โดยวิธีนี้ต้องตรวจในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยระดับ 3 เท่านั้น ไม่สามารถทำได้ในแล็ปทั่วไป ขณะนี้มีเพียงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งเดียวทำได้ สำหรับผลที่ออกมา พบว่าผู้ที่ฉีด วัคซีนโควิด-19 ไม่ว่าสูตรไหนก็ตาม ปรากฏว่า ภูมิที่ลบล้างเชื้อไวรัสโอมิครอน […]
พบในไทยแล้ว 1 ราย “โอมิครอน” สายพันธุ์ลูกผสม “XE”
พบในไทยแล้ว 1 ราย “โอมิครอน” สายพันธุ์ลูกผสม “XE” ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เปิดข้อมูลล่าสุด พบ โควิดสายพันธุ์ลูกผสม “XE” คนไทย 1 ราย หลัง WHO เตือนเฝ้าระวังแพร่เชื้อเร็วกว่าทุกสายพันธุ์ที่เคยมีมา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยข้อมูลว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม “XE” ที่แพร่เชื้อติดต่อได้ง่าย และรวดเร็วกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เคยประสบมา โดย “XE” เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.1 X BA.2” ไม่ใช่ “เดลตาครอน” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “เดลตา X โอมิครอน” ทั้งนี้ WHO ยังไม่ตั้งชื่อให้อย่างเป็นทางการ จนกว่า “XE” จะแสดงอาการทางคลินิกที่รุนแรงแตกต่างไปจากสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน สำหรับสายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน” หรือ “XD” WHO แจ้งว่าไม่พบการระบาดที่รวดเร็ว (transmissibility) และอาการที่รุนแรง (severity) แต่ประการใด […]
โควิด-19 ลูกผสมเกิดได้อย่างไร พันธุ์ XE และ XJ
โควิด-19 ลูกผสมเกิดได้อย่างไร พันธุ์ XE และ XJ ทำความเข้าใจการเกิดโควิด-19 ลูกผสม XE และ XJ พบในไทยแล้วแต่ยังต้องจับตาการแพร่ระบาด ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ซึ่งไวรัสมีการพัฒนาตัวเองกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ย่อย สายพันธุ์ลูกผสม อยู่ตลอดเวลา สร้างวิตกกังวลต่อผู้คนจำนวนมาก เช่นเดียวกับโควิด-19 ลูกผสมตัวล่าสุดที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การจับตา เนื่องจากมีแนวโน้มแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าทุกตัวที่เคยผ่านมา ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณะสุขและศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้อธิบายถึงโควิด-19 ตัวล่าสุดนี้ว่า สายพันธุ์ลูกผสมคืออะไร สำหรับการกลายพันธุ์ในโควิด-19 จะเกิดขึ้นในตัวไวรัสที่เปลี่ยนรหัสพันธุกรรม ถ้าเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงก็จะเป็นสายพันธุ์ใหม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงไม่มากก็จะเป็นสายพันธุ์ย่อย และยังมีกรณีติดเชื้อสองสายพันธุ์ขึ้นไปในคนๆ เดียวกัน หากเกิดกรณีนี้บ่อยๆ ก็จะเกิดการผสมพันธุ์แล้วออกมาเป็นตัวใหม่ หรือ ไฮบริด โดยตัวนี้จะมีสารพันธุกรรมของสองสายพันธุ์ ซึ่งเมื่อมีการผสมกันเป็นไฮบริด ในระบบข้อมูลจะใช้คำว่า X นำหน้า ซึ่งมาจากการคำว่า cross หรือการผสมกัน เพื่อระบุว่าเป็นการกระโดดข้ามสายพันธุ์มาผสมกัน ซึ่งเมื่อเกิดเป็นสายพันธุ์ผสมขึ้นมาแล้ว หากไม่มีความน่ากังวลของโรคก็จะไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการผสมกันที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหากไม่เหมาะกับสิ่งแวดล้อมก็จะสูญพันธุ์ไป โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน […]
โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร
โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร [rank_math_breadcrumb] นอกจากคำเรียกชื่อสายพันธ์ุของเชื้อโควิด-19 ที่เราเคยเห็นเรียกกันตามชื่อประเทศที่พบสายพันธุ์นั้นๆ ครั้งแรกแล้ว เรายังมีการเรียกชื่อสายพันธุ์ว่าอัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า อีกด้วย โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนชื่อในการเรียกสายพันธุ์โควิด-19 จากชื่อประเทศที่พบเชื้อโควิดครั้งแรก เป็นระบบตัวอักษรภาษากรีก เช่น อัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า เพื่อลดการตีตราประเทศนั้นๆ โดยมีการบัญญัติชื่อเรียกสายพันธุ์โควิดใหม่ สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) คือ สายพันธุ์อัลฟ่า (A) สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) คือ สายพันธุ์เบต้า (B) สายพันธุ์บราซิล (P.1) คือ สายพันธุ์แกมมา (Γ) สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) คือ สายพันธุ์เดลต้า (Δ) รวมไปสายพันธุ์อื่นๆ ที่เริ่มเป็นที่จับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ก็เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อด้วยเช่นกัน ดังนี้ สายพันธุ์สหรัฐฯ (B.1.427/429) คือ […]
ทำไมโควิด-19 ถึงแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne)
ทำไมโควิด-19 ถึงแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne) 7 พฤษภาคม 2564 เว็บไซต์ของ CDC ได้เผยแพร่ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Brief) เรื่องการแพร่กระจายของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคโควิด-19 โดยระบุว่า ช่องทางการแพร่เชื้อในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ช่องทาง คือ การหายใจเอาไวรัสเข้าไป การสัมผัสเยื่อบุตา / จมูก / ปากโดยตรง และการสัมผัสเยื่อบุตา / จมูก / ปาก ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส สารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Respiratory Fluids) ถูกปล่อยออกมาระหว่างหายใจออก เช่น การหายใจตามปกติ การพูด การร้องเพลง การออกกำลังกาย การไอหรือจาม เป็นละอองขนาดเล็ก-ใหญ่แตกต่างกัน และละอองเหล่านี้เป็นตัวพาไวรัสไปติดเชื้อให้กับผู้อื่น แต่จะสามารถแพร่ไปได้ไกลเท่าไรขึ้นกับขนาดของละอองและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น โดยสรุป CDC ยืนยันว่าโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ไกลกว่า 2 เมตร แต่ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อแบบนี้คือ กิจกรรมที่เพิ่มละอองสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ + สถานที่ปิด + […]