พบโควิด-19 ติดได้ 3 สายพันธุ์พร้อมกัน!
พบโควิด-19 ติดได้ 3 สายพันธุ์พร้อมกัน! เมื่อวันที่ 16 เม.ย. ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 ระบุว่า “ทีมวิจัยของเกาหลีใต้ได้นำเสนอผลการทดลองชิ้นหนึ่งออกมาน่าสนใจมากครับ” เป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาตอบคำถามเกี่ยวกับความสามารถการติดเข้าสู่เซลล์ปอดของมนุษย์ของไวรัส SARS-CoV-2 แต่ละสายพันธุ์ได้ชัดเจนขึ้น ทีมวิจัยทำการแยกเซลล์ถุงลมปอดของมนุษย์ออกมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการและเหนี่ยวนำให้เซลล์ดังกล่าวเจริญเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า Organoid ซึ่งเป็นสภาวะที่ใกล้เคียงกับอวัยวะจริงในร่างกาย มากกว่าการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ที่มักแยกมาจากเซลล์มะเร็งปอดและมีการเลี้ยงมาเป็นเวลานาน พอได้ระบบ Organoid ของปอดมนุษย์แล้ว ทีมวิจัยได้นำไวรัสที่แยกได้จากผู้ป่วยในเกาหลีใต้ที่มีการถอดรหัสพันธุกรรม 100% เรียบร้อยแล้ว 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เดิม (GR), Alpha, Delta และ Omicron จำนวนเท่าๆ กัน มาผสมกันและปล่อยให้ไวรัสทั้ง 4 สายพันธุ์ติดเข้าสู่ Organoid ปอดที่สร้างขึ้น ทีมวิจัยได้มีการใช้ระยะเวลาที่ให้ไวรัสไปบ่มกับเซลล์ที่เวลาต่างๆ กัน ที่น่าสนใจคือ เค้าใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที ก็สามารถพบว่า ไวรัสสามารถติดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว หลังจากบ่มไวรัสที่เตรียมไว้กับ Organoid […]
ป่วยโควิด-กักตัว ขอรับเงินทดแทนขาดรายได้อย่างไร?
ป่วยโควิด-กักตัว ขอรับเงินทดแทนขาดรายได้อย่างไร? สำนักงานประกันสังคมย้ำผู้ประกันตนไม่ต้องหวั่นใจ หากป่วยโควิดหรือตกเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงจ่ายชดเชยทุกกรณี รวมถึง “เงินทดแทนขาดรายได้” เช็กวิธีทำได้ที่นี่ ผู้ประกันตนหลายคนสอบถามกันมาก กรณียื่นขอรับ “เงินทดแทนการขาดรายได้” ล่าสุดสำนักงานประกันสังคมได้เปิดเผยข้อมูลว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 หากป่วยโควิด-19 หรือตกเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ต้องกักตัว ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีสิทธิยื่นขอรับเงินขาดรายได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เงื่อนไขขอเบิกเงินทดแทนขาดรายได้ 1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีหยุดรักษาตัวไม่เกิน 30 วัน : รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง กรณีหยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน : สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรัง (โรคมะเร็ง, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคเอดส์, […]