พบ โอไมครอน สายพันธุ์ใหม่ BA.12 ในอินเดียอันตรายกว่า BA.2 สิบเท่า!
พบ โอไมครอน สายพันธุ์ใหม่ BA.12 ในอินเดียอันตรายกว่า BA.2 สิบเท่า! ‘อินเดีย’ ประกาศค้นพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ BA.12 ในรัฐพิหาร คาดอันตรายกว่า BA.2 ถึงสิบเท่า ขอ ปชช.อย่าตระหนก แต่ให้ทำตามมาตรการควบคุมโรคเคร่งครัด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัสว่าหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐพิหาร ประเทศอินเดียได้ออกมาประกาศว่า นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์อินทิรา คานธี (IGIMS) ค้นพบไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ใหม่ชื่อว่า BA.12 ที่มีความอันตรายมากกว่าโควิดสายพันธุ์ BA.2 ถึงสิบเท่า ซึ่งไวรัสโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวนั้นถูกพบในระหว่างการระบาดระลอกที่สามที่ประเทศอินเดีย โดย พญ. นัมราตา กุมารี หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาของ IGIMS ได้ออกมาให้สัมภาษณ์โดยระบุว่าทางหน่วยงานสาธารณสุขนั้นได้เริ่มมีการถอดตัวอย่างทางพันธุกรรมของไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อยพบว่า “จากการทดสอบตัวอย่างจำนวน 13 ตัวอย่างพบว่ามีผู้ติดเชื้อหนึ่งรายมีโควิดสายพันธุ์ BA.12 ขณะที่อีก 12 รายที่เหลือเป็น BA.2” อนึ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไวรัสมักจะทำอยู่แล้วเพื่อที่จะปรับตัวและอยู่รอด โดยการกลายพันธุ์ที่กลายเป็นภัยมากที่สุดก็คือการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์เดลต้าและโอไมครอน ที่มีความแตกต่างจากสายพันธุ์ก่อนหน้านี้อย่างมีนัยยะสำคัญ อย่างไรก็ตามการกลายพันธุ์หลังจากนี้นั้นโดยเฉพาะการเกิดขึ้นของไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2 นั้นพบว่าทำให้มีศักยภาพในการแพร่เชื้อที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังไม่ถือว่าเป็นอันตรายเท่ากับโควิดสายพันธุ์เดลต้า แต่ทางด้านของ พญ.กุมารีได้ตั้งข้อสังเกตุว่าโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ BA.12 ที่พบในรัฐพิหารนั้นจะมีความอันตรายมากกว่า BA.2 ถึงสิบเท่า โดย ณ เวลานี้นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้คนอย่าเพิ่งกังวลจากการค้นพบโควิดสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวนี้ และขอให้ปฏิบัติตามข้อควรระวังต่างๆอย่างเคร่งครัด เนื่องจากว่าทุกครั้งที่ผ่านมาหลังจากที่เกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นมานั้น จะเกิดผลกระทบต่อจำนวนผู้ติดเชื้อแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นจะเป็นประชากรกลุ่มเปราะบางซึ่งมีภาวะปัญหาสุขภาพพื้นฐานอยู่แล้ว เรียบเรียงจาก:https://www.thehealthsite.com/news/highly-transmissible-omicron-variant-detected-in-bihar-can-cause-10-times-more-harm-than-ba-2-876915/ ที่มา : www.isranews.org เกาะติดข่าวที่นี่Website : www.enrichfog.netFacebook […]
แนวทางป้องกัน โอไมครอน ทำยังไงให้เด็กเล็กปลอดภัย
แนวทางป้องกัน โอไมครอน ทำยังไงให้เด็กเล็กปลอดภัย โอไมครอนอยู่รอบตัว กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผย 7 แนวทางป้องกันเด็กเล็กติดโควิด ทำยังไงให้ลูกรักปลอดภัย จากกรณี สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับให้ประชาชนจำนวนมาก แม้ว่าสายพันธุ์โอไมครอน ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่แสดงอาการน้อย มีลักษณะคล้ายไข้หวัด แต่ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจำนวนผู้ติดเชื้อในกลุ่มเด็กเล็กที่เริ่มมากขึ้นตามลำดับล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผย 7 แนวทางการป้องกันโควิด-19 สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 1. หลีกเลี่ยงการพาเด็กเข้าไปในสถานที่แออัด ที่มีคนจำนวนมาก ระบบระบายอากาศไม่ดี 2. สวมหน้ากากอนามัยให้เด็กตลอดเวลาเมื่อออกนอกบ้าน เว้นระยะห่าง 2 เมตร (เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรสวมหน้ากาก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการขาดอากาศหายใจ) 3. สอนให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ไม่นำมือเข้าปากและหมั่นทำความสะอาดบ้าน พื้นผิวสัมผัส สิ่งของที่เด็กจับเป็นประจำ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ของเล่น 4. จำกัดกลุ่มคนที่พบเจอกับเด็ก หลีกเลี่ยงการคลุกคลี เช่น กอด จูบ หอมแก้ม […]
ปักกิ่งเร่งปูพรม ตรวจโควิด ผู้คนกว่า 20 ล้าน
ปักกิ่งเร่งปูพรม ตรวจโควิด ผู้คนกว่า 20 ล้าน กรุงปักกิ่งเร่งปูพรมตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 จากประชาชนเกือบทั้งหมดของเมืองหลวงที่มีประชากรรวม 22 ล้านคนในวันอังคาร (26 เม.ย.) เพื่อเร่งตัดวงจรการระบาดแต่เนิ่นๆ และหลีกเลี่ยงไม่ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งเมืองแบบเซี่ยงไฮ้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากต่างกังวลและพากันไปเข้าคิวซื้อเสบียงกักตุนตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ (24) เพื่อหลีกเลี่ยงชะตากรรมเดียวกับเซี่ยงไฮ้ เมืองใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งต้องมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์กันอย่างเข้มงวดแทบทั้งเมืองมาหลายสัปดาห์แล้ว หลังจากคุมสถานการณ์การระบาดไม่ค่อยอยู่ นครหลวงปักกิ่งจึงลงมือแต่เนิ่นๆ โดยเริ่มตรวจโควิด-19 ในประชาชน 3.5 ล้านคนที่พำนักอยู่ในเขตเฉาหยาง ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ (25) และจัดทำรายชื่อในอีก 10 เขตกับ 1 เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่มีประชาชนรวม 20 ล้านคนที่ต้องเริ่มตรวจในวันอังคาร (26) โดยประชาชนเหล่านี้ต้องเข้ารับการตรวจโควิดแบบพีซีอาร์คนละ 3 รอบ คำสั่งปูพรมตรวจโควิดในเฉาหยาง ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกและพากันไปซื้อเสบียงตุนไว้ตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ เนื่องจากกลัวว่าจะมีการล็อกดาวน์ปุบปับเหมือนเซี่ยงไฮ้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงอาหารและการรักษาพยาบาลโรคอื่นๆ นอกจากโควิดได้ แม้ทางการปักกิ่งพยายามให้ความมั่นใจว่า ข้าวของเครื่องใช้มีเพียงพอต่อความต้องการก็ตาม ทั้งนี้ ปักกิ่งรายงานเมื่อวันอังคารว่า พบผู้ติดโควิดรายใหม่ 33 คน เพิ่มจาก 19 คนในวันก่อนหน้า แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ส่วนเคสใหม่รายวันของเซี่ยงไฮ้นั้นยังอยู่ที่ […]
ผลข้างเคียง วัคซีนไฟเซอร์
ผลข้างเคียง วัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นวัคซีนชนิด mRNA เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เซลล์ในร่างกายผลิตโปรตีนที่เป็นปุ่มหนามของไวรัส ที่เรียกว่า Spike Protein ขึ้นมา ซึ่งโปรตีนตัวนี้จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ของร่างกายเพื่อต่อต้านกับเชื้อโรค เพราะฉะนั้นร่างกายรับเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีปุ่มหนามเหมือน Spike Protein ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเชื้อโควิด-19 ที่เข้าสู่ร่างกายของเรา ประสิทธิภาพของไฟเซอร์ วัคซีนไฟเซอร์ได้รับการรับรองจาก WHO ว่าสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 100% ,ป้องกันการติดเชื้อมีอาการที่ 94% ป้องกันการติดโรค 96.5% และป้องกันการเสียชีวิตได้ถึง 98-100% วัคซีนไฟเซอร์ เหมาะกับใครบ้าง เด็กอายุ 12-18 ปี เนื่องจากองค์การอนามัยโลกให้การยอมรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 12-18 ปี (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 64) 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ผลข้างเคียงทั่วไปของวัคซีนโควิดไฟเซอร์ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย และไม่รุนแรงของวัคซีนไฟเซอร์ หรืออาจเกิดขึ้นเฉพาะจุดที่ฉีด มีดังนี้ ปวดบวม หรือมีรอยแดงบริเวณที่ฉีด สามารถประคบเย็นได้ […]
สลด 1 ขวบดับจาก โควิด ยอดตายยังสูงทรงตัว
สลด 1 ขวบดับจาก โควิด ยอดตายยังสูงทรงตัว ยอดโควิดใหม่ 2 หมื่นราย แนวโน้มปอดอักเสบลดลงเล็กน้อย ใส่ท่อช่วยหายใจยังเพิ่มขึ้น ยอดดับทรงตัวในระดับสูง 129 ราย สลด 1 ขวบสิ้นใจอีกแล้ว ภาพรวม 12 จังหวัดติดเชื้อสูงสุดอยู่ระดับเกิน 400 ราย “ลำพูน” ยังรายงานเป็น 0 ต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์โควิด 19 ประจำวันว่า วันนี้ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 20,052 ราย สะสม 4,148,090 ราย หายป่วย 22,361 ราย สะสม 3,932,099 ราย เสียชีวิต 129 ราย สะสม 27,649 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 188,342 ราย […]
หาย โควิด ยังเสี่ยงเส้นเลือดอุดตัน ลองโควิด อาจทำให้พิการได้
หาย โควิด ยังเสี่ยงเส้นเลือดอุดตัน ลองโควิด อาจทำให้พิการได้ งานวิจัยจากสวีเดนพบว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงเส้นเลือดอุดตันที่ปอดสูงกว่าผู้อื่นถึง 33 เท่า หลังจากติดเชื้อไปแล้วนาน 6 เดือนนอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเส้นเลือดดำอุดตัน ซึ่ง มักเกิดขึ้นที่ขา มากกว่าผู้อื่น 5 เท่า หลังจากติดเชื้อโควิดไปแล้วนาน 3 เดือน ด้านแพทย์เผยข้อมูลใหม่ภาวะ”ลองโควิด”หลังจากหายป่วยจากโควิดมีความรุนแรงและเสี่ยงทำให้เกิดความพิการได้ ขณะที่ คาดว่าการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนจะทำให้มีผู้ป่วยลองโควิดมากขึ้น https://youtu.be/fVOdR_4ThBQ ผลการศึกษาที่เผยแพร่บนวารสารการแพทย์ บริติช เมดิคัล เจอร์นัล (บีเอ็มเจ) ระบุว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเส้นเลือดอุดตันที่ร้ายแรง หลังจากติดเชื้อไปแล้ว 6 เดือน แม้ขณะป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตาม // การศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้เปรียบเทียบข้อมูลของชาวสวีเดนมากกว่า 1 ล้านคน ที่ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 – พฤษภาคม 2564 // กับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในการควบคุมมากกว่า 4 ล้านคน ที่ไม่เคยมีผลติดเชื้อ// และหลังจากได้ปรับแก้ปัจจัยต่างๆ พบว่า […]
เปิดตัวเลขผู้เสียจากชีวิตโควิด หลังสงกรานต์พื้นที่อีสานหนักสุด
เปิดตัวเลขผู้เสียจากชีวิตโควิด หลังสงกรานต์พื้นที่อีสานหนักสุด ศบค.เผยแนวโน้มผู้เสียชีวิตจากโควิดหลังสงกรานต์เร่งตัวขึ้น ระบุตัวเลขล่าสุด พื้นที่ “ภาคอีสาน” เสียชีวิตมากสุดถึง 51 ราย ร้อยเอ็ดนำโด่ง 9 ราย รองลงมาเป็นพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเสียชีวิตรวม 36 ราย ชี้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ 98% ยังอยู่ในกลุ่ม 608 และพบผู้ไม่ได้ฉีดบูสเตอร์โดสอีก 119 ราย วันที่ 21 เมษายน 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ประจำวันว่า สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 มีผู้ป่วยรายใหม่ 21,931 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,882,795 ราย หายป่วยแล้ว 1,721,418 ราย และเสียชีวิตสะสม 5,694 ราย โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตกลับมาเพิ่มขึ้นสูงสุดอีกครั้งจำนวน 129 ราย เท่ากับเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 […]
ลองโควิด เกิดจากอะไร ทำไมถึงเป็น
ลองโควิด เกิดจากอะไร ทำไมถึงเป็น อาการ ลองโควิด เป็นอาการที่ผู้ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่มักจะเป็นต่อหลังสิ้นสุดการติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากอะไร อาการมีอะไรบ้าง วัคซีนสามารถช่วยได้หรือไม่ มีคำตอบมาให้แล้ว ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อหายจากอาการป่วยหรือหายจากการติดเชื้อแล้ว สิ่งที่ส่วนใหญ่มักกังวลต่อคือเรื่องของการเกิด “อาการลองโควิด” Long COVID ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่หายจากการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ โดย Long COVID คือ อาการทางร่างกายและทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่ หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจเป็นผลกระทบทางตรงจากร่องรอยของโรค หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อก็ได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อมูลว่า “อาการลองโควิด” มีความเป็นไปได้ที่หลากหลายมาก มีทั้งอาการที่คล้ายกับตอนเป็นโควิด-19 และอาการที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันเลย ซึ่งลักษณะอาการสามารถพบได้ 200 อาการ โดยพบได้ในทุกระบบของร่างกาย แบ่งอาการที่พบบ่อยได้ 3 กลุ่ม 1. อ่อนเพลีย 2. หายใจไม่เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมปกติได้ลดลง เหนื่อยง่ายขึ้น 3. ภาวะสมองเสื่อม เช่น ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่จะทำ ความจำลดลง มีปัญหาการนอนหลับ ความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมลดลง อาจพบอาการอื่น ๆ อีก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน […]
โอมิครอน ไม่น่ากลัว แต่น่ากลัวเมื่อเชื้อลงปอด
โอมิครอน ไม่น่ากลัว แต่น่ากลัวเมื่อเชื้อลงปอด แม้หลายคนจะมองว่า โควิดสายพันธุ์”โอมิครอน” ไม่ค่อยน่ากลัว แต่ไม่ใช่กับทุกคน เมื่อใดที่เชื้อลงปอด คนที่มีโรคประจำตัวและคนไม่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะมีปัญหามากกว่าคนกลุ่มอื่น ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด ณ วันที่ 11-15 เมษายน 2565 แต่ละวันมีจำนวนมากกว่า 100 คนอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวเลขเสียชีวิตสูงที่สุดในรอบเกือบ 4 เดือน โดยผู้ป่วยอาการหนักปอดอักเสบและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจมีปริมาณมากขึ้น โอมิครอน เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้ เคยถูกมองว่าไม่น่ากลัว เพราะไม่ส่งผลแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต แต่เมื่อตัวเลขผู้เสียชีวิตเริ่มเปลี่ยนจากศูนย์ ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงผลการศึกษาวิจัยที่ถูกเปิดเผยกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคำถามว่า“โอมิครอน”น่ากลัวน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ จริงเหรอ โอมิครอน เพิ่มจำนวนเร็วกว่าเดลต้า Dr. Michael Chan Chi-wai และทีมนักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้ทำการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด ระหว่างสายพันธุ์โอมิครอนกับเดลต้าที่ติดอันดับท็อปเรื่องความรุนแรง พบว่า โอมิครอนสามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่าเดลต้ามากถึง 70 เท่า เมื่อเชื้อไวรัสจับกับกลุ่มเซลล์หลอดลม ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้โอมิครอนแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อสู่บุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ปอดและยึดเกาะกับเนื้อเยื่อปอด การเพิ่มจำนวนไวรัสของโอมิครอนกลับช้าลง…และช้ากว่าเดลต้าถึง 10 เท่า เชื้อเติบโตช้า แต่ไม่ได้แปลว่า “โอมิครอน” ไม่อันตราย เมื่อพบไวรัสกลายพันธุ์ ต่างกังวลและโฟกัสถึงพลังการทำลายเซลล์ปอดของเชื้อสายพันธุ์นั้นๆ จนลืมไปว่าระดับความรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของการเพิ่มจำนวนไวรัสเพียงอย่างเดียว หนึ่งในกลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน […]
มาตรการป้องกัน โควิด-19 เข้มงวดตลาด-ร้านอาหาร อย่างต่อเนื่อง
มาตรการป้องกัน โควิด-19 เข้มงวดตลาด-ร้านอาหาร อย่างต่อเนื่อง “กรุงเทพมหานคร” เข้มงวดตลาด-ร้านอาหาร กำชับปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน “โควิด-19” อย่างต่อเนื่อง วันที่ 17 เม.ย. 2565 นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร เผยถึงการดำเนินมาตรการป้องกันโรค เพื่อควบคุมกำกับดูแลตลาดให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า กรุงเทพมหานครได้กำชับเน้นย้ำเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือของผู้ประกอบการ เจ้าของตลาด/ผู้ดูแลตลาด รวมถึงผู้ค้า/ผู้ช่วยค้าในตลาด ทั้งที่อยู่ในความดูแลของ กทม. และตลาดของเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการในตลาดให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ ที่ผ่านมา สำนักอนามัย ได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ค้าและแรงงาน ในตลาดพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านระบบ Video Conference (Zoom Meeting) มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานเขต 50 เขต และผู้ประกอบการตลาดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 488 แห่ง รวมทั้งการดูแลด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในตลาดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบด้วย ผู้ประกอบการตลาดต้องควบคุม กำกับ ดูแล ผู้ขาย แรงงาน และผู้ใช้บริการในตลาดให้ปฏิบัติตามมาตรการหลัก D-M-H-T-A […]