บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องกำจัดยุงแมลง เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 น้ำยาฆ่าเชื้อโรค อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นกำจัดยุงแมลงและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องกำจัดยุงแมลง เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 นำยาฆ่าเชื้อโรค อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นกำจัดยุงแมลงและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 อันดับ 1 ในประเทศไทย

เฟคนิวส์ โควิดระบาด ผู้เชี่ยวชาญเตือนประชาชนใช้ 5 ข้อแยกแยะ

เฟคนิวส์โควิดระบาด ผู้เชี่ยวชาญชี้เทคโนโลยีทำเนียน เตือนประชาชนใช้ 5 ข้อแยกแยะ

วันนี้ (29 เมษายน 2565) นายสันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วย ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ นพ.ฆนัท ครุธกูล นายกสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลประเด็น “ระวัง! คุณอาจเป็นคนปล่อย Fake News โควิด แบบไม่รู้ตัว” ในรายการโควิด ฟอรัม (Covid Forum) ที่นี่มีคำตอบ จัดโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ

นายสันติภาพ กล่าวว่า ข่าวปลอม หรือเฟคนิวส์ (Fake News) คือ ข่าวสารทั้งมีและไม่มีเจตนาในการปล่อยออกมา แต่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งพบกันมานานแล้ว เช่น ความเชื่อบางอย่างที่ไม่ตรงกับข้อมูลจริง หรือแม้กระทั่งเกิดจากความหวังดี ต้องการแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพที่อาจจะไม่ถูกต้อง เช่น แนะนำยาสำหรับรักษาโรค ไปจนถึงเจตนาสร้างผลประโยชน์ เช่น เว็บไซต์ปล่อยข่าว พาดหัวข่าวที่ทำให้คนสนใจคลิกเข้ามาอ่าน แล้วเกิดเป็นรายได้ขึ้น

“แต่ที่น่ากลัวคือ การโจรกรรมข้อมูลโดยการลวงให้คนกดคลิกเข้าไปลงทะเบียนเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีหน่วยงานทั้งรัฐบาล เอกชน และสื่อร่วมกันเข้ามาดูแลเรื่องนี้ ส่วนของรัฐก็มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ทำงานเข้าปีที่ 3 ให้ประชาชนส่งข่าวผ่านช่องทางติดตามในเฟซบุ๊ก แอพพลิเคชั่นไลน์ ให้ศูนย์ฯ ยืนยันข้อมูลที่ถูกต้อง และใช้ระบบ Social TRUTH เพื่อติดตามความสนใจ หรือคำค้นหาในโซเชียลมีเดียช่วงใดช่วงหนึ่ง หลังจากนั้น ก็จะมีการพิสูจน์ความจริงให้ประชาชน หรือภาคเอกชนก็จะมีโคแฟค (CoFact) เป็นต้น” นายสันติภาพ กล่าว

ขั้นตอนรับมือ fake news

ดร.ชำนาญ กล่าวว่า รูปแบบข่าวปลอมมี 3 กลุ่มหลัก คือ การบิดเบือนข้อมูลเล็กน้อย (Misinformation) การใส่ข้อมูลปลอมจำนวนมาก (Disinformation) และ ข้อมูลที่มีเจตนาทำร้ายหรือทำให้เกิดเหตุการณ์เชิงลบ (Malinformation) ทั้งนี้ การแชร์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมีโทษทางอาญาและแพ่ง แต่ต้องมาดูว่ากระทำผิดกฎหมายฉบับใด เช่น การแชร์ข้อมูลไม่ถูกต้องผ่านออนไลน์ เมื่อส่งผลกระทบก็จะผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ควบคุมโรค กำกับดูแลอยู่

“ฉะนั้น หากเราส่งต่อข้อมูลปลอมที่ทำให้คนตื่นกลัวก็จะผิดกฎหมายฉบับเหล่านี้ด้วย อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักในการส่งต่อข่าวปลอม เพราะการเขียนจะมีข้อมูล เนื้อหา รูปภาพในการกระตุ้นความรู้สึกให้เกิดความเชื่อ ดังนั้น ประชาชนต้องสังเกต 5 ข้อ คือ 1.ที่มาข้อมูล 2.ลักษณะเนื้อหา ที่มีเหตุผล ซึ่งข่าวปลอมกว่า ร้อยละ 90 จะมีข้อมูลกับรูปภาพไม่สอดคล้องกัน 3.ชื่อของ URL ที่ไม่ใช่สำนักข่าว 4.หมั่นสังเกตการใช้ภาพเก่ามารีไซเคิล ซึ่งเราต้องใช้ระบบเสิร์ชเอนจิน (search engine) เพื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ และ 5.เปรียบเทียบแหล่งข่าวอื่น เมื่อรับข่าวมาแล้ว เราต้องใจนิ่งๆ คิดไว้ว่าเป็นข่าวปลอม 50:50 อย่าเพิ่งส่งต่อ แต่ให้เอามาผ่านกระบวนการทั้ง 5 ข้อข้างต้น เพื่อตรวจสอบย้อนกลับ หากเราเชื่อว่า ใช่ แล้วจึงค่อยส่งต่อ ปัจจุบันต้องระวังมากขึ้น เพราะนอกจากปลอมข่าวแล้ว ยังมีการปลอมเสียง ปลอมใบหน้า ตัดต่อรูปเป็น Deepfake AI ได้ ทำให้ข่าวปลอมเนียนมากขึ้น” ดร.ชำนาญ กล่าว

ด้าน นพ.ฆนัท กล่าวถึงข่าวปลอมในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย ล่าสุด องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนถึงโรคข้อมูลระบาด (Infodemic) เช่น เริ่มแรกที่มีวัคซีน ก็จะมีข่าวเกี่ยวกับฝังไมโครชิพ (Microchip) ในผู้ที่รับวัคซีน หรือการดื่มน้ำปัสสาวะป้องกันโควิด-19 ที่เขียนเกี่ยวกับการใช้ศาสตร์แผนจีน ซึ่งทำให้ดูมีเหตุผลน่าเชื่อมากขึ้น เป็นต้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ข้อเท็จจริง

“ขณะเดียวกัน ทางการแพทย์ก็พบข่าวปลอมอีกมาก เมื่อจัดลำดับก็พบว่า อันดับต้นๆ เป็นข่าวปลอมเกี่ยวกับการขายสินค้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เมื่อมีโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดความเร็ว จึงแก้ไขได้ยากและส่งผลกระทบมาก อย่างเช่น ข้อมูลว่าหากติดโควิด-19 แล้วไม่ต้องโรงพยาบาล (รพ.) ให้กินสมุนไพรชนิดหนึ่งแล้วจะหาย โดยอ้างอิงแพทย์ที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ ทำให้คนหลงเชื่อได้ง่าย รวมถึงคนไม่เชื่อมั่นรัฐบาลด้วยเหตุผลต่างๆ ก็มีการปล่อยข่าวปลอม แล้วอ้างว่าเป็นข่าวลับ ซึ่งเป็นข่าวที่คนอยากรู้อยู่แล้ว แต่หาหลักฐานไม่ได้ ดังนั้น เป็นเรื่องที่ต้องมีหน่วยงานสร้างบทบาทสำคัญ สร้างความรอบรู้ให้ประชาชนด้วย” นพ.ฆนัท กล่าว

ที่มา : www.matichon.co.th

เกาะติดข่าวที่นี่
Website : www.enrichfog.net
Facebook : enrichfogger
Line : @enrichfogger
Youtube official : Enrichfogger Official Account
Tiktok : @enrichfog

Tags
CHEMGENE CHEMGENE HLD4H CHEMGENE HLD4L COVID19 ติดเชื้อโควิด-19 น้ำยากำจัดเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส น้ำยาฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค น้ำยาอเนกประสงค์ ผลิตภัณฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ลองโควิด เคมีกำจัดยุง เคมีกำจัดแมลง เครื่องULV เครื่องกําจัดเชื้อโรคในอากาศ เครื่องฆ่าเชื้อโรค เครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด19 เครื่องฉีดพ่นละอองฝอย เครื่องพ่น ULV เครื่องพ่น ULV ไฟฟ้า เครื่องพ่นกำจัดแมลง เครื่องพ่นกำจัดแมลงพาหะนำโรค เครื่องพ่นควัน เครื่องพ่นควันไล่ยุง เครื่องพ่นฆ่ายุง เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ ULV เครื่องพ่นยา เครื่องพ่นยาฆ่าเซื้อโรค เครื่องพ่นยุง เครื่องพ่นยุง ULV เครื่องพ่นยุงเกาหลี เครื่องพ่นยุงแบบพกพา เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องพ่นละอองฝอย ULV เครื่องพ่นละอองฝอยสะพายหลัง เครื่องพ่นสารเคมี ULV เครื่องพ่นหมอก ULV เครื่องพ่นหมอกควัน โควิด โควิด 19