ทำความเข้าใจการเกิดโควิด-19 ลูกผสม XE และ XJ พบในไทยแล้วแต่ยังต้องจับตาการแพร่ระบาด
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ซึ่งไวรัสมีการพัฒนาตัวเองกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ย่อย สายพันธุ์ลูกผสม อยู่ตลอดเวลา สร้างวิตกกังวลต่อผู้คนจำนวนมาก เช่นเดียวกับโควิด-19 ลูกผสมตัวล่าสุดที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การจับตา เนื่องจากมีแนวโน้มแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าทุกตัวที่เคยผ่านมา ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณะสุขและศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้อธิบายถึงโควิด-19 ตัวล่าสุดนี้ว่า
สำหรับการกลายพันธุ์ในโควิด-19 จะเกิดขึ้นในตัวไวรัสที่เปลี่ยนรหัสพันธุกรรม ถ้าเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงก็จะเป็นสายพันธุ์ใหม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงไม่มากก็จะเป็นสายพันธุ์ย่อย และยังมีกรณีติดเชื้อสองสายพันธุ์ขึ้นไปในคนๆ เดียวกัน หากเกิดกรณีนี้บ่อยๆ ก็จะเกิดการผสมพันธุ์แล้วออกมาเป็นตัวใหม่ หรือ ไฮบริด โดยตัวนี้จะมีสารพันธุกรรมของสองสายพันธุ์ ซึ่งเมื่อมีการผสมกันเป็นไฮบริด ในระบบข้อมูลจะใช้คำว่า X นำหน้า ซึ่งมาจากการคำว่า cross หรือการผสมกัน เพื่อระบุว่าเป็นการกระโดดข้ามสายพันธุ์มาผสมกัน ซึ่งเมื่อเกิดเป็นสายพันธุ์ผสมขึ้นมาแล้ว หากไม่มีความน่ากังวลของโรคก็จะไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการผสมกันที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหากไม่เหมาะกับสิ่งแวดล้อมก็จะสูญพันธุ์ไป
XE-พบในอังกฤษ
XG-พบในเดนมาร์ก
XH-พบในเดนมาร์ก
XJ-พบในฟินแลนด์
XK-พบในเบลเยียม มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” เกือบ 100 ตำแหน่ง มากกว่าทุกสายพันธุ์ ยังไม่พบในประเทศไทย
XL-พบในอังกฤษ
ทั้งนี้การที่ตั้งชื่อ X ต่างกันแม้จะเกิดจาก Ba.1+Ba.2 เหมือนกัน เนื่องจากแต่ละตัวที่พบในแต่ละประเทศมีรหัสพันธุกรรมที่แตกต่างกัน
สำหรับ สัดส่วนสายพันธุ์ย่อยโอมิครอนในประเทศ ระหว่างวันที่ 26 มี.ค.- 1 เม.ย.65 จากกราตรวจสอบทั้งหมด 1,915 ตัวอย่าง พบว่า 92.2% เป็นสายพันธุ์ Ba.2 ส่วน Ba.1 พบเพียง 7.8%
โอมิครอน XE เอาส่วนของ Ba.2 มาประมาณ 65% และเอาส่วนของ Ba.1 มาประมาณ 35% ซึ่งข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่าสายพันธุ์ลูกผสม XE มีอัตราการแพร่ระบาด (growth advantage) เหนือกว่า BA.2 ประมาณ 10% และแพร่ได้รวดเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1.1.529) ถึง 43% ซึ่งเมื่อมีการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วถึงแม้ไม่มีอาการ ยิ่งผู้ติดเชื้อมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลต่อเนื่องถึงจำนวนผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต
จากข้อมูลประเทศอังกฤษสุ่มตรวจพบว่า XE ไม่มีความรุนแรงในการก่อโรค ขณะที่สายพันธุ์ XJ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เปิดเผยว่ายังไม่มีข้อมูลเรื่องการแพร่เร็วหรือรุนแรง
ไทยตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม “XE” ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างสวอปผู้ติดเชื้อชาวไทย 1 ราย จากการติดตามสอบถามแพทย์ผู้รักษาทราบว่าเป็นผู้ติดเชื้อในกลุ่ม “สีเขียว” มีอาการเล็กน้อย ปัจจุบันหายจากอาการโควิดแล้ว มีการสุ่มตรวจ ATK คนรอบข้างไม่พบผู้ติดเชื้อ นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อเฝ้าระวังสายพันธุ์สัปดาห์ละ 500-600 ราย พบว่า มี 1 ราย ที่ใกล้เคียงกับ “XJ” เป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 34 ปี อาชีพพนักงานขนส่ง ตรวจพบตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 และผู้ป่วยรายนี้รักษาหายเป็นปกติแล้ว
โอมิครอน XE และ XJ เอาโครงสร้างหนามของ Ba.2 มาทั้งชุด ดังนั้นวัคซีนตัวปัจจุบันยังใช้ได้ผล โดยเฉพาะ mRNA สามารถลดความเสี่ยงป่วยหนัก และความเสี่ยงเป็น Long Covid-19 ขณะที่เข้มกระตุ้นถือว่ามีความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
เมื่อป่วยโควิด-19 สายพันธุ์ Ba.1 แล้ว ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อสายพันธุ์ Ba.2 ซ้ำได้ ภายในระยะเวลา 20-40 วัน แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก
ยังไม่มีข้อมูลว่ายาแต่ละชนิดสามารถใช้ได้ผลดีกับสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง
ทั้งนี้ ระบบเฝ้าระวังของโลกคือ GISAID มีการยอมรับว่าเป็นลูกผสมจริง 3 ตัว คือ XA, XB และ XC ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบและยืนยันเพิ่มเติมต่อไป
ที่มา : www.pptvhd36.com
เกาะติดข่าวที่นี่
Website : www.enrichfog.net
Facebook : enrichfogger
Line : @enrichfogger
Youtube official : Enrichfogger Official Account
Tiktok : @enrichfog
บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
133 ถนนกรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
โทรศัพท์ : 02-439-7289 (Auto) โทรสาร : 02-439-6289 (Auto)
Email : enrichfogger@gmail.com Add Line : @enrichfogger
กสมา : 091-993-8939
ดวงใจ : 095-368-6189
กัญญมณฑ์ : 083-063-9891
วีระพล : 094-146-5939
ธนกิจ : 094-873-1938
พชรพล : 063-525-7898
นัจยา : 082-332-9567
ภคนันท์ : 094-508-9278
อดิศักดิ์ : 064-894-6418
มิตรภาพ : 087-415-2828
บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
133 ถนนกรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร
เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
โทรศัพท์ : 02-439-7289 (Auto)
โทรสาร : 02-439-6289 (Auto)
Email : enrichfogger@gmail.com
Add Line : @enrichfogger