บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องกำจัดยุงแมลง เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 น้ำยาฆ่าเชื้อโรค อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นกำจัดยุงแมลงและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องกำจัดยุงแมลง เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 นำยาฆ่าเชื้อโรค อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นกำจัดยุงแมลงและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 อันดับ 1 ในประเทศไทย

โอมิครอน ไม่น่ากลัว แต่น่ากลัวเมื่อเชื้อลงปอด

แม้หลายคนจะมองว่า โควิดสายพันธุ์”โอมิครอน” ไม่ค่อยน่ากลัว แต่ไม่ใช่กับทุกคน เมื่อใดที่เชื้อลงปอด คนที่มีโรคประจำตัวและคนไม่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะมีปัญหามากกว่าคนกลุ่มอื่น

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด ณ วันที่ 11-15 เมษายน 2565 แต่ละวันมีจำนวนมากกว่า 100 คนอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวเลขเสียชีวิตสูงที่สุดในรอบเกือบ 4 เดือน โดยผู้ป่วยอาการหนักปอดอักเสบและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจมีปริมาณมากขึ้น

โอมิครอน เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้ เคยถูกมองว่าไม่น่ากลัว เพราะไม่ส่งผลแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต

แต่เมื่อตัวเลขผู้เสียชีวิตเริ่มเปลี่ยนจากศูนย์ ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงผลการศึกษาวิจัยที่ถูกเปิดเผยกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคำถามว่า“โอมิครอน”น่ากลัวน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ จริงเหรอ

โอมิครอน เพิ่มจำนวนเร็วกว่าเดลต้า

Dr. Michael Chan Chi-wai และทีมนักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้ทำการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด ระหว่างสายพันธุ์โอมิครอนกับเดลต้าที่ติดอันดับท็อปเรื่องความรุนแรง

พบว่า โอมิครอนสามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่าเดลต้ามากถึง 70 เท่า เมื่อเชื้อไวรัสจับกับกลุ่มเซลล์หลอดลม ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้โอมิครอนแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อสู่บุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น

แต่เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ปอดและยึดเกาะกับเนื้อเยื่อปอด การเพิ่มจำนวนไวรัสของโอมิครอนกลับช้าลง…และช้ากว่าเดลต้าถึง 10 เท่า

เชื้อเติบโตช้า แต่ไม่ได้แปลว่า “โอมิครอน” ไม่อันตราย เมื่อพบไวรัสกลายพันธุ์ ต่างกังวลและโฟกัสถึงพลังการทำลายเซลล์ปอดของเชื้อสายพันธุ์นั้นๆ จนลืมไปว่าระดับความรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของการเพิ่มจำนวนไวรัสเพียงอย่างเดียว

หนึ่งในกลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน คือ การสร้างสารไซโตไคน์เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค หากระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นให้หลั่งสารไซโตไคน์มากเกินไป จนเกิดภาวะที่เรียกว่า Cytokine Storm หรือ“พายุไซโตไคน์”

กระบวนการต่อสู้เชื้อไวรัสนี้อาจย้อนกลับมาทำลายเซลล์ภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบ สร้างความเสียหายต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ และอาจรุนแรงจนเกิดภาวะล้มเหลวเฉียบพลันได้

โอมิครอน ไม่น่ากลัว แต่น่ากลัวเมื่อเชื้อลงปอด

วัคซีนเข็มกระตุ้น ป้องกันโควิดได้แค่ไหน

อีกหนึ่งข้อสงสัยที่หลายคนยังคงหาคำตอบ… 

Dr. Anthony Fauci หัวหน้าที่ปรึกษาด้านการแพทย์ของทำเนียบขาว ได้อ้างอิงข้อมูลจากฝั่งแอฟริกาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ“วัคซีนไฟเซอร์” ว่า การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครบ 2 โดส จะสามารถป้องกันการติดเชื้อโอมิครอนได้ 33% เมื่อเทียบกับโควิดสายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้านี้ ที่มีผลการทดลองระบุว่าไฟเซอร์สามารถป้องกันได้ 80% 

ส่วนประสิทธิภาพในการลดความรุนแรง ลดอัตราการเข้ารับรักษาในโรงพยาบาล จะอยู่ที่ประมาณ 70%ในขณะที่ทางไฟเซอร์เองก็ได้ออกมาบอกว่า การฉีดวัคซีน 2 โดส ประสิทธิภาพอาจไม่เพียงพอต่อการต้านโอมิครอน แต่การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น จะสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันมากขึ้นถึง 25 เท่า

ภาวะปอดอักเสบจากโควิด

อาการปอดอักเสบจากการติดเชื้อทั่วไป กับเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มักมีไข้ ต่อมาก็จะเริ่มมีอาการไอ และมีเสมหะ บางคนอาจจะมีการเจ็บหน้าอก เวลาหายใจลึกๆ

สุดท้ายถ้าเกิดการทำลายเนื้อปอด ส่วนที่แลกเปลี่ยนก๊าซเยอะๆ ก็จะทำให้มีอาการหอบเหนื่อย ทำกิจวัตรประจำวันที่แต่เดิมไม่รู้สึกเหนื่อย ไม่ว่าจะเดิน หรือพูด จะรู้สึกเหนื่อยขึ้น

ระยะปอดอักเสบ

-ปอดอักเสบระยะแรก : ช่วง 1-5 วัน อาการยังไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการไอ

-ปอดอักเสบระยะที่สอง : ช่วง 10-15 วัน หากมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอถี่ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน หายใจไม่สะดวก

โดยแพทย์จะต้องเฝ้าระวังอาการในช่วง 10 วันแรกอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสลงปอด จนทำให้เกิดอาการปอดอักเสบรุนแรงในระยะที่สอง

เมื่อปอดถูกทำลาย

การอักเสบในเนื้อปอดส่งผลโดยตรงต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ในช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการปกติแม้จะเกิดการอักเสบในปอด เรียกว่า “Silent Hypoxemia” 

ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก อาจรุนแรงถึงขั้นหายใจล้มเหลวจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเมื่อร่างกายรับเชื้อโควิด-19 เข้าไป ความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ทำให้มีโอกาสในการเกิดปอดอักเสบไม่เท่ากัน และเมื่อมีอาการปอดอัดเสบแล้ว ความรุนแรงของโรคของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน

กลุ่มที่ได้รับเชื้อโควิด-19 และมีความเสี่ยงที่ปอดอักเสบรุนแรง เนื่องจากแต่เดิมปอดทำงานไม่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ได้แก่

-มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับปอดเรื้อรัง อาทิถุงลมโป่งพอง, หอบหืด, หรือมะเร็งปอด เป็นต้น

-ภาวะโรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน ระดับดัชนีมวลกาย (Body mass index) หรือ BMI ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป

-มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคตับ, ความดันโลหิตสูง, ไตวายเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น

…………….

อ้างอิง

-รพ.พญาไท

-รพ.วิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล หนองแขม

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

เกาะติดข่าวที่นี่
Website : www.enrichfog.net
Facebook : enrichfogger
Line : @enrichfogger
Youtube official : Enrichfogger Official Account
Tiktok : @enrichfog

Tags
CHEMGENE CHEMGENE HLD4H CHEMGENE HLD4L COVID19 ติดเชื้อโควิด-19 น้ำยากำจัดเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส น้ำยาฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค น้ำยาอเนกประสงค์ ผลิตภัณฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ลองโควิด เคมีกำจัดยุง เคมีกำจัดแมลง เครื่องULV เครื่องกําจัดเชื้อโรคในอากาศ เครื่องฆ่าเชื้อโรค เครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด19 เครื่องฉีดพ่นละอองฝอย เครื่องพ่น ULV เครื่องพ่น ULV ไฟฟ้า เครื่องพ่นกำจัดแมลง เครื่องพ่นกำจัดแมลงพาหะนำโรค เครื่องพ่นควัน เครื่องพ่นควันไล่ยุง เครื่องพ่นฆ่ายุง เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ ULV เครื่องพ่นยา เครื่องพ่นยาฆ่าเซื้อโรค เครื่องพ่นยุง เครื่องพ่นยุง ULV เครื่องพ่นยุงเกาหลี เครื่องพ่นยุงแบบพกพา เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องพ่นละอองฝอย ULV เครื่องพ่นละอองฝอยสะพายหลัง เครื่องพ่นสารเคมี ULV เครื่องพ่นหมอก ULV เครื่องพ่นหมอกควัน โควิด โควิด 19