บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องกำจัดยุงแมลง เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 น้ำยาฆ่าเชื้อโรค อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นกำจัดยุงแมลงและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นหมอกควัน เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องกำจัดยุงแมลง เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 นำยาฆ่าเชื้อโรค อันดับ 1 ในประเทศไทย

บริษัท เอ็นริช ฟ็อกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รวมเครื่องพ่นกำจัดยุงแมลงและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด19 อันดับ 1 ในประเทศไทย

จับทิศระบบรักษาฟรี โควิด หลังเข้าโรคถิ่น UCEP Plus จะมีต่อหรือจบ

จับทิศรักษา “โควิด” หลังเข้าสู่โรคประจำถิ่น สมาคม รพ.เอกชนจี้รัฐวางระบบรักษาฟรี ส่วน 3 กองทุนสุขภาพ ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม และข้าราชการ ต้องหารือทำงบประมาณเสนอหลังปรับเป็นโรคปกติ เพิ่มโควิดในเกณฑ์วินิจฉัยโรคร่วม เน้นป่วยสีเหลืองและแดงให้ได้รับการดูแล คาดอาจยังมี UCEP Plus ต่อไปอีกระยะ

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ให้สัมภาษณ์กรณีประเทศไทยเตรียมปรับโรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น ว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง แต่ต้องมีการติดตามอีกสักระยะ และพิจารณาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่า ผู้ติดเชื้อที่ลดลงเป็นเพราะไม่ได้ตรวจหรือลดลงจริง ผู้เสียชีวิตที่ลดลงเป็นเพราะมีการแยกผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ออกจากผู้เสียชีวิตที่มีการติดโควิด 19 ร่วมด้วย หากตามเกณฑ์การเป็นโรคประจำถิ่นจะต้องมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ราว 0.1% ขณะที่ไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 8,000 รายต่อวัน ก็น่าจะต้องมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 8 รายต่อวัน ขณะนี้ยังมีราว 50 รายต่อวัน

“เมื่อโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น รัฐต้องเตรียมพร้อมเรื่องระบบบริการ คือ การให้บริการรักษาฟรีในระบบประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน คือ บัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม ว่าจะดำเนินการอย่างไร มีการดูแลให้สิทธิแบบไหน เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณา” นพ.เฉลิมกล่าว

จับทิศระบบรักษาฟรี โควิด หลังเข้าโรคถิ่น UCEP Plus จะมีต่อหรือจบ

นพ.เฉลิม กล่าวว่า ส่วนการผ่อนคลายมาตรการและเปิดประเทศมากขึ้น จะส่งผลต่อ รพ.เอกชน 2 ส่วนคือ 1.กลุ่ม รพ.ที่มีลูกค้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จะมีการเดินทางเข้ามารักษามากขึ้น และ 2.กลุ่ม รพ.ที่ดูแลคนไทยเป็นหลัก จะมีการกลับเข้ามารักษาของผู้ป่วยโรคอื่นๆ มากขึ้น หลังจากที่มีการลังเลและชะลอไปเกือบ 2 ปี จากสถานการณ์โควิด จะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ด้าน นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เลขาธิการสมาคม รพ.เอกชน กล่าวว่า ขณะนี้ค่ารักษาพยาบาลโควิดของทั้ง 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ จะมีส่วนของ Extra pay ซึ่งไม่ได้อยู่ในส่วนของงบประมาณของแต่ละกองทุน แต่เมื่อโควิดมีแนวโน้มขาลงและกลายเป็นโรคประจำถิ่น แต่ละกองทุนจะต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง ดังนั้น แนวโน้มทิศทางการบริหารจัดการงบประมาณของแต่ละกองทุนในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 จะเป็นอย่างไร ซึ่ง รพ.เอกชนก็มีความร่วมมือกับสำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรมบัญชีกลาง จะต้องดำเนินการอย่างไร ดูแลและส่งต่ออย่างไร รัฐต้องรีบดำเนินการและคณะกรรมการแต่ละกองทุนต้องรีบพิจารณาและประกาศให้ชัดเจน เชื่อว่าเมื่อเป็นโรคประจำถิ่น ผู้ป่วยจะไม่เข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว UCEP Plus จะยังมีอยู่ก็อาจจะยาก ส่วนงบประมาณที่เดิมจ่ายให้กรณี รพ.รักษาโควิด แบบ Plus เพิ่มเติมจากที่ไม่ได้อยู่ในงบปกติจะยังอยู่หรือไม่ รพ.จะต้องดำเนินการอย่างไร

นพ.จักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ถ้าสถานการณ์ของโควิดดีขึ้น อะไรที่เข้าสู่ภาวะปกติหรือเหมือนเป็นไข้หวัด นอนพัก 1-2 วันแล้วหาย ก็จะกลายเป็นวิถีปกติ แต่สิ่งที่จะต้องป้องกันคือคนที่ป่วยแล้วมีอาการรุนแรง ต้องมีการพิจารณาเรื่องการวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ที่จะอ้างอิงในการรักษาผู้ป่วยโควิด จึงต้องคิดคำนวณและหารือว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการ นี่คือหน้าที่ของรัฐตามกฎหมาย ส่วนทิศทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไรขึ้นกับ 3 ปัจจัย คือ 1.องค์ความรู้เกี่ยวกับโควิดเป็นอย่างไร มีโอกาสกลายพันธุ์รุนแรงขึ้นอีกหรือไม่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกยังไม่วางใจ 2.ระดับนโยบายพิจารณาอย่างไร จะให้เป็นบริหารจัดการร่วม 3 กองทุนรัฐหรือไม่ และ 3.กฎหมายและการกำกับติดตาม ซึ่งเป็นข้อจำกัด เพราะ 3 กองทุนถือกฎหมายคนละฉบับ ก็พยายามหาจุดร่วมเพื่อให้ระบบบริการเดินหน้า ฉะนั้นวันนี้ UCEP Plus ยังเป็นทิศทางที่น่าจะประคองไว้ เพราะเป็นการรักษาชีวิตคน ทุกระบบจะต้องให้ความเท่าเทียมกับปัจจัยพื้นฐาน

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ในอนาคตหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีแนวโน้มประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น เบื้องต้นระบบประกันสังคมจะดูแลตามสิทธิเดิมใน รพ.คู่สัญญาหลักที่สามารถเข้าไปรับการรักษาได้ ส่วนเรื่องยาและอื่นๆ ให้ความมั่นใจและรับประกันว่า สามารถดูแลตรงส่วนนี้ได้แน่นอน ส่วนต่อไปจะดูแลเรื่องยารักษาโควิดเข้าไปในสิทธิหรือไม่ คณะกรรมการการแพทย์ได้หารือเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยจะดูแลผู้ประกันตน 10 กว่าล้านคนอย่างดีที่สุด

นายรชตะ อุ่นสุข นิติกรชำนาญการพิเศษ กรมบัญชีกลาง กล่าวว่า หลังจากเป็นโรคประจำถิ่นควรจะ back to basic แต่สิ่งที่ท้าทายระบบต้นทุน คือ เมื่อเกิดโรคใหม่ 1 โรค เดิมไม่เคยถูกพิจารณาอยู่ในงบประมาณ ก็ควรจะจัดให้มีโควิดอยู่ใน DRG เวอร์ชันถัดไป เพื่อจัดสรรงบประมาณปกติของกองทุนในการดูแลผู้ป่วย และคิดคำนวณว่าจะต้องใช้ประมาณเท่าไร เพื่อเสนอขอกับสำนักงบประมาณ ฉะนั้น 3 กองทุนรัฐต้องหารือว่า การดูแลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในโควิดจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องตอบคือ UCEP Plus จะอยู่ต่อหรือไม่ ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ต้องกำหนดเรื่องนี้ ต้องมีการหารือในคณะกรรมสถานพยาบาลและดูว่า ศบค.จะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร ส่วนตัวเชื่อว่าจะยังคงให้ UCEP Plus ดูแลผู้ป่วยสีเหลืองและแดงต่อไปอีกระยะ อย่างน้อยคือปีหน้า ส่วนผู้ป่วยสีเขียวก็ควรกลับเข้าสู่ระบบปกติบนพื้นฐาน ถ้าจะรักษาแล้วเข้า รพ.เอกชนก็เก็บเงิน ส่วนกองทุนสุขภาพรัฐใดจะจ่ายให้ก็จ่ายไป เชื่อว่าแต่ละกองทุนจะไม่ค่อยคุยกรณีผู้ป่วยสีเขียว เพราะเริ่มกลับสู่ระบบปกติ แต่ผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงจะต้องมีคำตอบในการหารือร่วมกันในเวทีของ สธ.ว่าจะเอาอย่างไร

ที่มา : mgronline.com

เกาะติดข่าวที่นี่
Website : www.enrichfog.net
Facebook : enrichfogger
Line : @enrichfogger
Youtube official : Enrichfogger Official Account
Tiktok : @enrichfog

รร.กรุงเทพคริสเตียน แจงนร.-บุคลากร ติดโควิด แค่ 200 คน

รร.กรุงเทพคริสเตียน แจงนร.-บุคลากร ติดโควิด แค่ 200 คน

รร.กรุงเทพคริสเตียน แจงนร.-บุคลากร ติดโควิด แค่ 200 คน ผู้บริหาร รร.กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แถลงนร.ติดโควิดแค่ 200 คน ส่วนใหญ่หายเป็นปกติแล้ว เผยยอดติด 700 คน

อ่านต่อ »

ศธ.ยก “รร.กรุงเทพคริสเตียน” ต้นแบบคุมโควิด-19

ศธ.ยก “รร.กรุงเทพคริสเตียน” ต้นแบบคุมโควิด-19 รัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมเปิดเทอมวันแรกที่ รร.กรุงเทพคริสเตียน พร้อมเอ่ยชมมาตรการป้องกันโควิด-19 ทำได้อย่างดีเยี่ยม ยกให้เป็นต้นแบบโรงเรียนอื่นๆ นำไปปฏิบัติตาม วันนี้ (1 ก.ค.) เวลา 07.30

อ่านต่อ »

หลัง ติดโควิด 1-6 เดือน อาจพบอาการภาวะ สมองเสื่อมถอย

หลัง ติดโควิด 1-6 เดือน อาจพบอาการภาวะ สมองเสื่อมถอย หนึ่งในอาการ Long COVID ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึงหรือมองข้ามไปก็คือ ภาวะ “สมองเสื่อมถอย” โดยพบได้หลังจาก ติดโควิด 1-6

อ่านต่อ »
ข่าวติดแท็ก
CHEMGENE CHEMGENE HLD4H CHEMGENE HLD4L COVID19 ติดเชื้อโควิด-19 น้ำยากำจัดเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส น้ำยาฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค น้ำยาอเนกประสงค์ ผลิตภัณฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ลองโควิด เคมีกำจัดยุง เคมีกำจัดแมลง เครื่องULV เครื่องกําจัดเชื้อโรคในอากาศ เครื่องฆ่าเชื้อโรค เครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด19 เครื่องฉีดพ่นละอองฝอย เครื่องพ่น ULV เครื่องพ่น ULV ไฟฟ้า เครื่องพ่นกำจัดแมลง เครื่องพ่นกำจัดแมลงพาหะนำโรค เครื่องพ่นควัน เครื่องพ่นควันไล่ยุง เครื่องพ่นฆ่ายุง เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ เครื่องพ่นฆ่าเชื้อ ULV เครื่องพ่นยา เครื่องพ่นยาฆ่าเซื้อโรค เครื่องพ่นยุง เครื่องพ่นยุง ULV เครื่องพ่นยุงเกาหลี เครื่องพ่นยุงแบบพกพา เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องพ่นละอองฝอย ULV เครื่องพ่นละอองฝอยสะพายหลัง เครื่องพ่นสารเคมี ULV เครื่องพ่นหมอก ULV เครื่องพ่นหมอกควัน โควิด โควิด 19